ยารักษาสิว ฮอร์โมน สิวฮอร์โมน ไม่ได้เกิดแค่เฉพาะช่วงที่สาว ๆ ใกล้เป็นประจำเดือนเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกช่วงวัย ที่มีระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงหรือฮอร์โมนไม่สมดุล มักพบได้บ่อยในวัยรุ่น อายุ 15-18 ปี โดยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชายในสัดส่วนที่มากกว่าฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดผิวมัน รูขุมขนกว้าง สิวฮอร์โมน รักษา แบบธรรมชาติ เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนนั่นเอง
แต่นอกจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแล้ว บางครั้งที่เราเกิดความเครียดหรือต้องอยู่ในภาวะที่กดดัน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลขึ้นมา ฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นการผลิตไขมันของต่อมไขมันใต้ผิวหนังได้ ทำให้เกิดน้ำมันบนผิวกลายเป็นไขมันส่วนเกิน นำไปสู่การอุดตันของรูขุมขน จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการอักเสบ และเป็นสิวได้เช่นกัน
สิวฮอร์โมน ยารักษาสิว ฮอร์โมน มีแนวทางและวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?
ยารักษาสิว ฮอร์โมน การรักษาสิวฮอร์โมนสามารถทำได้หลายวิธีทั้งแบบธรรมชาติ สิวฮอร์โมน วัยรุ่น และทางการแพทย์ด้วยวิธีต่างๆดังนี้ รักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติด้วยตัวเอง เป็นสิวฮอร์โมนใช้อะไรดี?
- การรับประทานยา การทานยาเพื่อคุมสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุม จะมีประสิทธิภาพที่ดีสามารถช่วยลดสิวได้ 50% – 100% ช่วยลดความมัน ลดโอกาสการปะทุของสิวอักเสบได้เป็นอย่างดี หลังจากการรักษาประมาณ 3 เดือนถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
- การใช้กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids : AHAs) เป็นสารสกัดธรรมชาติที่ได้มาจากผลไม้ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีฤทธิ์ในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยลดรอยแผลเป็นรวมถึงลดตุ่มสิวให้จางลงได้
- ยาทาสิวเฉพาะที่ ตัวยาจะช่วยในเรื่องลดการอักเสบของสิว ควรทำการทดสอบกับผิวหนังก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้
- ขัดผิวด้วยการสครับอย่างอ่อนโยน เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ไม่ให้เกิดการอุดตันตามรูขุมขน แต่ไม่ควรทำบ่อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน
- รับประทานน้ำมันปลา เพราะเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้อย่างโดยตรง
วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน
- ควรหากิจกรรมที่ทำเป็นประจำเพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และลดความตึงเครียดสะสมได้อีกด้วย
- ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อให้สุขภาพดูดีอยู่เสมอ
- ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความอ่อนโยน ไม่เกิดการอุดตันตามรูขุมขน
- ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของลาโนลิน (Lanolin) ,ซิลิโคน(Silicone) และน้ำมันแร่(Mineral Oil)เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวอับเสบขึ้นได้
- ควรหาเวลาออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ
- ควรทำความสะอาดใบหน้า และส่วนอื่นๆของร่างกาย วันละ 2 ครั้ง เพื่อความสะอาดหมดจด
- ควรงดการบีบ กด จับ แคะ หรือสัมผัสสิวบริเวณนั้นโดยตรง
รักษาสิวฮอร์โมน ด้วยการใช้ยา แบ่งเป็นการกินและการทายา
- ยากินรักษาสิวฮอร์โมน
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดสิวอักเสบ
- ยาฮอร์โมนกลุ่มยาคุมกำเนิด เช่น Diane ใช้ในกรณีผู้ป่วยหญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายเด่น
- ยากรดวิตามินเอ เช่น Roaccutane ยากลุ่มนี้ช่วยลดหน้ามัน ลดสิวอุดตัน และลดสิวอักเสบ
- ยาทารักษาสิวฮอร์โมน
- เบนซอยล์ เพอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide) เป็นตัวยาที่มี การออกฤทธิ์ทำให้หัวสิวหลุดออกได้เร็วขึ้น
- กรดวิตามินเอ (retinoic acid) หรือ Tretinoin กรดวิตามินเอที่อยู่ในรูปแบบของยาทา จะช่วยขจัดปัญหาสิวอุดตันได้ดี
- ยาทาสิว Azelaic ช่วยให้สิวอุดตันหลุดออกได้ง่าย และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนังได้อีกด้วย
- ยาปฏิชีวนะ ได้แก่อีริโทรไมซิน คลินดาไมซิน จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียชื่อ P. acnes ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
สิวฮอร์โมนประจำเดือน มีลักษณะอย่างไร? กี่วันหาย?
สิวฮอร์โมนประจำเดือน มักมีลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก ตรงกลางมีการฝังตัวของเคราติน(Keratin) และลิพิด(Lipid) จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) กับอากาศ จึงทำให้สีขาวเหลือง กลายเป็นสีเข้มหรือสีดำนั่นเอง สำหรับบางรายอาจจะใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ สิวฮอร์โมนประเภทนี้ก็สามารถยุบลงได้ แต่บางคนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2-3 สัปดาห์ จึงจะค่อยๆจางหายไปเอง
สิวฮอร์โมน หายเองได้หรือไม่?
สามารถหายเองได้ หากเป็นกลุ่มสิวที่ไม่รุนแรงแต่ส่วนใหญ่จะพบเจอกับปัญหาที่กวนใจ ไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการดูแลรักษาสิวฮอรโมนอย่างถูกวิธี จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง ด้วยการใช้ยารักษาในการรักษา และการทำเลเซอร์ เพื่อช่วยรักษาตุ่มสิวให้หายไปได้ไวขึ้นโดยไม่มีการทิ้งร่องรอย อีกทั่งยังช่วยให้ผิวหน้ากลับมากระจ่างใสได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย
สิวฮอร์โมน อันตรายหรือไม่? เป็นสัญญาณบอกโรคอันตรายรึเปล่า?
สิวฮอร์โมนอาจจะไม่เป็นอันตราย แต่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้กวนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้สิวฮอร์โมนยังเป็นสัญญาณยอกโรคต่างๆเช่น ภาวะเครียด, การตั้งครรภ์, เป็นประจำเดือน, พักผ่อนไม่เพียงพอ, มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) รวมถึงทานอาหารหวานและอาหารมันมากจนเกินไป แต่หากเลือกรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถกำจัดสิวฮอร์โมนหายขาดได้
สรุป สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)
สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เกิดจากการแปรปวนของระดับฮอร์โมนในร่างกาย มักมีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงรอบประจำเดือน ความเครียด ซึ่งอาจมีอาการเป็นๆหายๆ และทิ้งรอยไว้หลังจากที่สิวมีการยุบตัว ดังนั้นหากใครที่ต้องรักษาสิวฉงฮอร์โมนให้หายขาดแนะนให้ เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านผิวหนังจึงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้การดูแลตนเองควบคู่ไปกับการรักษาด้วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวใหม่ได้ด้วยเช่นกัน